วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

การเจาะเสาเข็ม


ชนิดของเสาเข็ม

เสาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกได้เป็นสำคัญ 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะเอง ก็ยังแยกออกได้ เป็นอย่างละอีก 2 ประเภท ซึ่งโดยสรุปรวม วิธีการทำงาน และจุดดีจุดด้อย น่าจะสรุป พอเป็นสังเขป ได้ดังต่อไปนี้ : 1. เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่าง ๆ กัน บางทีก็เป็นสี่เหลี่ยม บางทีก็เป็นหกเหลี่ยม บางทีก็เป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่าง จะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอก ก็ตอกลงไปง่าย ๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป 2. เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบแรก เพราะสามารถ ทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดย การปั่นหมุนคอนกรีต ให้เสาเข็มออกมา กลมและกลวง เวลาติดตั้ง ส่วนใหญ่ จะขุดเป็นหลุมก่อน แล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับ ที่ต้องการ จึงจะเริ่มตอก ทำให้มีส่วนของเสาเข็ม ไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลง จากการเคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือน ก็ยังคงอยู่) 3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (แล้วแต่ ระดับ ชั้นทราย) รับน้ำหนักต่อต้น ได้ไม่เกิน 120 ตัน วิธีการคือเจาะดินลงไป (แบบแห้ง ๆ ) แล้วก็หย่อนเหล็ก เทคอนกรีต ลงไปในหลุม… ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการ เคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น 4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึก ๆ แล้วใส่สารเคมีลงไป เคลือบผิวหลุมดิน ที่เจาะ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและดันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึก ๆ(ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกถึงกว่า 70 เมตร)รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย ราคาแพง ส่วนการเลือก ว่าจะใช้เข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกต ปัญหาก่อน แล้วเปรียบเทียบ ความจำเป็น- ความเป็นไปได้ ของแต่ละระบบ ในแต่ละงาน โดยยึดถือ ข้อหลักประจำใจ ในการพิจารณาดังนี้ : ก.) ราคา ข.) บ้านข้างเคียง (มลภาวะ) ค.) ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน ง.) เวลา (ทั้งเวลาทำงาน และเวลาที่ต้องรอคอย) เสาเข็มเจาะ (Small Diameter Bored Pile) การทำเสาเข็มเจาะแบบ 3 ขา ชนิดนี้ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายง่าย ทำงานได้ภายในบริเวณจำกัด เช่นใต้เพดานต่ำๆ ในซอกแคบ หรือมุมตึก ซึ่งปั้นจั่นไม่สามารถเข้าไปตอกเสาเข็มได้ อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาตั้ง 3 ขา (Tripod) ซึ่งปรับสูง-ต่ำ กว้าง-แคบได้, ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing), กระเช้าตักดิน (Bucket), ลูกตุ้ม(Cylindrical Hammer) และเครื่องกว้านลม (Air Winch) ลักษณะงานที่ใช้เสาเข็มเจาะ - งานฐานรากที่ต้องระวังแรงสั่นสะเทือนอันอาจเกิด อันตรายต่ออาคารข้างเคียง ใช้แทน เสาเข็มตอก - งานฐานรากในบริเวณพื้นที่จำกัดคับแคบ ใต้อาคาร - งานแก้ไขฐานรากอาคาร โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม - งานฐานรากเสริมแท่นเครื่องจักร - งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม ขั้นตอนการทำงาน การเจาะและการใส่ Casing เมื่อตั้ง Tripod เข้าตรง ศูนย์เข็มแล้ว ใช้ Bucket เจาะ นำเป็นรูลึกประมาณ 1.50 ม. แล้วนำ Casing ซึ่งทำเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1.40 ม. ต่อกัน ด้วยเกลียว ตอกลงไปในรูเจาะ ในแนวดิ่ง จนลึกถึงชั้นดินแข็ง ปานกลาง (Medium Clay) ที่พอเพียงที่จะป้องกันการพังทลายของชั้นดินอ่อนและน้ำใต้ดินไว้ได้ จากนั้นใช้ Bucket ขุดเจาะเอาดินออกจนถึงชั้นดินปนทราย ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมักจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 18.0 -21.0 ม. การปรับสภาพก้นหลุมเจาะ เมื่อเจาะถึงความลึกที่ต้องการแล้ว ใส่คอนกรีตแห้งที่ผสมในอัตราส่วน 1 : 2 : 4 โดยปริมาตรลงไปที่ก้นหลุมประมาณ 0.15 - 0.25 ลบ.ม. แล้วกระทุ้งด้วยลูกตุ้มจนแน่น เป็นการทำให้ก้นหลุมเจาะสะอาดและอัดแน่น ไม่มีเศษดินหรือทรายร่วนตกค้างอยู่ และยังอาจเกิดเป็น Bulb ของคอนกรีตแห้ง ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Bearing Capacity และลดค่า Settlement ของเสาเข็มเมื่อรับน้ำหนักบรรทุก ในชั้นดินบางแห่งที่มีอัตราการซึมของน้ำใต้ดินค่อนข้างสูง จะตัดขั้นตอนนี้ออกไป เนื่องจากการกระทุ้งด้วยตุ้มน้ำหนักอาจจะเปิดช่องน้ำใต้ดินให้ไหลเข้าสู่หลุมเจาะมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

บ้านโครงสร้างเหล็ก




บ้านโครงสร้างเหล็ก



ในปัจจุบัน เหล็กถูกนำมาใช้ผลิตเป็นโครงสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น เนื่องจากหลายสาเหตุทั้งที่เป็นปัจจัยดึง เช่น เหล็กมีความแข็งแรงสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ ราคาที่ถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ เป้นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวผลัก เช่น ไม้สามารถผุกร่อนได้ง่าย การรณรงค์ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวจึงมีการมองหาวัสดุอื่นเพื่อนำมาใช้แทนไม้ จากงานวิจัยหลายๆแห่งพบว่าเหล็กเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้ทำโครงสร้างที่พักอาศัยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยจึงได้จัดโครงการส่งเสริมการสร้างอาคารที่พักอาศัยที่เน้นเหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก โดยทางสถาบันฯยินดีจะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากทั้งผู้ประกอบการผลิตโครงสร้างเหล็ก ผู้ประกอบการรับเหมางานก่อสร้าง และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถพัฒนาโครงการไปอย่างมีประสิทธิภาพประโยชน์ของบ้านโครงสร้างเหล็ก1. บ้านโครงสร้างเหล็กสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็วในจำนวนมากๆ โดยใช้ระยะเวลา 45-90 วัน ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถลดต้นทุนดอกเบี้ยและสามารถจำหน่ายได้โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างน้อยลง หรืออีกทางหนึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของผู้ซื้อเรื่องปัญหาหนี้เสียจากผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์จนไม่สามารถก่อสร้างต่อได้2. บ้านโครงสร้างเหล็กจะปลอดจากปัญหาเรื่องปลวกหรือแมลงกินไม้อื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราเสี่ยงด้านอัคคีภัยเนื่องจากเหล็กไม่ติดไฟ ทำให้มีความคงทนกว่าบ้านทั่วไป3. บ้านโครงสร้างเหล็กช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าขณะอยู่อาศัย เพราะการก่ออิฐฉาบปูนจะอมความร้อนไว้หลายชั่วโมง4. การบริหารการก่อสร้างสะดวก ทั้งด้านการเงิน ระยะเวลา และแรงงาน5. บ้านโครงสร้างเหล็กมีค่าบำรุงรักษาต่ำ เพราะไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกร้าว หรือผุกร่อน จากการใช้งานปรกติ6. เพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้นเนื่องจาก ขนาดของโครงสร้างที่เล็กลง ใช้เสาและคานลดลง7. ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า และยังสอดคล้องกับกฏหมายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบ้านเหล็ก1. บ้านโครงสร้างเหล็กดูแตกต่างจากบ้านทั่วไป ความจริง ทั้งภายนอกและภายใน บ้านโครงสร้างเหล็กไม่ได้แตกต่างจากบ้านโครงสร้างไม้หรือปูนซิเมนต์เลย และถ้ามองใกล้ๆแล้วบ้านโครงสร้างเหล็กจะมีผนังที่เรียบกว่า มีรอยแตกร้าวน้อยกว่า และไม่มีรอยหัวตะปูบนพื้นผิว2. โครงสร้างเหล็กจะรบกวนคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์หรือระบบคลื่นสัญญาณอื่นๆ ความจริง การรับคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์และการทำงานของระบบคลื่นสัญญาณอื่นๆยังคงเหมือนกับบ้านโครงสร้างไม้และปูนซิเมนต์3. บ้านโครงสร้างเหล็กมีประสิทธิภาพต่ำกว่าบ้านโครงสร้างไม้ ความจริง บ้านโครงสร้างเหล็กช่วยป้องกันการแตกร้าวของผนังและข้อต่ออันเนื่องมาจากการหดตัวหรือการคดงอของไม้ ทำให้มีการสูญเสียพลังงานจากอากาศที่รั่วไหลน้อยลง4. บ้านเหล็กจะถูกฟ้าผ่าได้โดยง่าย ความจริง บ้านเหล็กไม่ได้ล่อฟ้ามากไปกว่าบ้านโครงสร้างไม้หรือปูนซิเมนต์เลย เพราะมันเหนี่ยวนำไฟฟ้าลงสู่พื้นดิน สรุปว่าบ้านโครงสร้างเหล็กได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าน้อยกว่าบ้านไม้5. บ้านโครงสร้างเหล็กจะเกิดสนิม ความจริง การใช้โครงสร้างเหล็กชุบสังกะสีจะช่วยป้องกันสนิม6. การแขวนรูปภาพหรือสิ่งของต่างๆในบ้านเหล็กทำได้ยาก ความจริง ตามปกติรูปภาพสามารถแขวนกับตะขอได้ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสิ่งนั้น สำหรับวัตถุที่หนักกว่าสามารถแขวนกับสกรูที่ขันเข้าไปโดยตรงกับเกลียวยึด (สามารถตรวจหาแนวยึดได้ด้วยแม่เหล็กธรรมดา)ที่มา : http://www.steelframingalliance.com/



ความได้เปรียบของโครงสร้างเหล็กเหล็กคือวัสดุก่อสร้างชั้นดี- มีความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น- สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด- อัตราการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิงอุตสาหกรรมได้ 68%- ไม่เป็นเชื้อไฟและไม่ลุกไหม้- ไม่มีรูปตายตัว คือไม่แตกร้าว แยก กะเทาะ ผุ- มีความคงมิติ คือไม่ยืดหรือหดตัวตามความชื้นและความร้อนในอากาศ- เหล็กมีมาตรฐานใกล้เคียงกันทั่วโลกเพราะยึดถือ Specification เดียวกัน ผลประโยชน์ต่อผู้ก่อสร้าง- น้ำหนักเบากว่าวัสดุโครงสร้างอื่นๆ- การเลือกใช้ทำได้ง่ายไม่จำเป็นต้องคัดหรือเลือกสรร- ผนังที่เรียบตรง- มุมที่ถูกต้อง- หน้าต่างและประตูเปิด ปิดได้ดีตามที่ควรจะเป็น- รูที่ทำการเจาะมีน้อย- ลดการสูญเสียเศษที่เหลือ- ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม- ไม่ต้องรอให้ปูนแห้งในการทำงานแต่ละขั้นตอนสามารถทำหลายๆงานได้พร้อมกัน ผลประโยชน์ต่อผู้บริโภค- ความแข็งแรงสูงทำให้โครงสร้างมีความปลอดภัยกว่า, ค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า และอายุการใช้งานยาวนานกว่า- ป้องกันอัคคีภัย- ไม่มีปัญหาเรื่องแมลงทำลาย- ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อรา- ลดความสูญเสียจากแผ่นดินไหว เพราะมีโครงสร้างที่เบาและข้อต่อที่แข็งแรง- ลดความสูญเสียจากการติดตั้ง ประกอบ เพราะมีน้ำหนักที่เบา- ลดความสูญเสียจากลมแรงๆ เพราะมีข้อต่อที่แข็งแรง- สร้างได้รวดเร็วสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ทันทีที่มา : http://www.steelframingalliance.com/


อายุการใช้งานของโครงสร้างเหล็กกล้าชุบสังกะสีไม่มีการเก็บข้อมูลการผุพังของโครงเหล็กชุบสังกะสีที่ได้รับจากการทดสอบใช้งานจริง อย่างไรก็ตามมีข้อมูลจากการทดสอบในอุณหภูมิห้องซึ่งน่าจะใกล้เคียงมากที่สุดสรุปว่าแผ่นเหล็กชุบสังกะสีที่มีความหนามากกว่า 250 กรัมต่อตารางเมตร จะมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 40 ปีขึ้นไปสนับสนุนข้อมูลโดย :- บริษัท นิวโฮมคอนเซ็พท์ จำกัด โทรศัพท์ : 0 2656 1524 - 6- บริษัท บอสส์ ฟิวเจอร์ จำกัด โทรศัพท์ : 0 3839 3900- บริษัท ยูนีค บิลดิ้ง คอนเซ็พท์ จำกัด โทรศัพท์ : 0 2982 9369

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอนกรีต


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอนกรีต

คอนกรีตเป็นวัสดุทางวิศวกรรมที่เกิดจากของผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ วัสดุผสม (เช่น ทรายหรือกรวด) และนํ้า คอนกรีตเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมากที่สุดในโลกซึ่งมีความแข็งแรงมาก ราคาถูก และทนทาน เมื่อปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์รวมตัวกับนํ้า จะสามารถยึดวัสดุผสมคอนกรีตให้เป็นก้อนเดียว กันได้ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์นี้ผลิตมาจาก หินปูน และ ชอล์ค รวมกับซิลิเกตโดยการเผาที่อุณหภูมิสูง ความเป็นมาถึงแม้ว่าจะได้มีการใช้วัสดุจำ พวกซีเมนต์กันมาตั้งแต่สมัยอียิปต์และโรมันแล้ว แต่พึ่งได้มีการจดสิทธิบัตรของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ โดย โจเซฟ แอสปดิน ช่างก่อสร้างในเมืองลีดส์ประเทศอังกฤษ ในปี คศ. 1824 และ ที่ตั้งชื่อนี้เนื่องจากมันมีสีคล้ายกับหินจากเกาะปอร์ตแลนด์ US Bureau of Mines รายงานว่าในแต่ละปีทั่วโลกมีการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ถึง 700,000,000 เมตริกตัน และในปี คศ. 1991 มีการผลิตถึง 1,250,000,000 ตัน เคมีเกี่ยวการผลิต ในการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ต้องใช้แคลเซียม ( หินปูนหรือชอล์ค ) และซิลิเกตกับอะลูมิเนต ( เคลย์ , เปลือกหอย ,ทราย ) วัตถุดิบจะถูกบดและผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นจะเผาในเตาเผาแบบหมุน ( rotary cement kiln ) จนถึงอุณหภูมิ 1480 o C ( 2700 o F ) ในขบวนการเผานี้จะทำ ให้เกิดปฏิกิริยาขึ้น 2 ปฏิกิริยาคือปฏิกิริยาแรกหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไลม์และคาร์บอนไดออกไซด์ จากนั้นไลม์จะรวมตัวกับซิลิเกตเป็นไดแคลเซียมอะลูมิเนต (dicalcium aluminate) ( 25% ) และไตรแคลเซียมซิลิเกต (tricalcium silicate) ( 55% ) และยังทำปฏิกิริยากับอะลูมิเนตเป็นไตรแคลเซียมอะลูมิเนต (tricalcium aluminate) ( 10 % ) เททระแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ (tretracalcium aluminoferrite) ( 8 % ) และอื่นๆ ( 2 %) ส่วนผสมที่ได้นี้จะถูกทำ ให้เย็นลงและบดเป็นผงละเอียด และนำ มาผสมกับปูนยิปซัม ( ใช้ควมคุมความเร็วในการแข็งตัว ) ในที่สุดก็จะได้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปฏิกิริยาเคมีในการผสม เมื่อเราเติมนํ้าลงในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซิลิเกตจะรวมตัวกับนํ้าอย่างรวดเร็วในตอนแรก จากนั้นปฏิกิริยาจะค่อยๆช้าลงแต่ไม่ยุติอย่างสมบูรณ์จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆถ้ายังมีความชื้นอยู่ ถ้า้คอนกรีตแข็งตัวภายใน1 วัน มันจะมีความแข็งเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า หลังจากเวลาผ่านไป 1 อาทิตย์ ในเวลา 1 เดือน จะมีความแข็งเป็น 6 เท่า และมีความแข็งมากกว่า 8 เท่าเมื่อคอนกรีตอายุได้ 5 ปี ซิลิเกตทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวถึงในตอนต้น จะเป็นสารประกอบหลักที่ทำ ให้เกิดความแข็งแรงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เมื่อรวมตัวกับนํ้าเป็นสารประกอบแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ไตรแคลเซียมอะลูมิเนต สามารถทำ ปฏิกิริยากับนํ้าได้เช่นเดียวกันแต่ให้ ความแข็งแรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเททราแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ไม่มีผลใดๆ ต่อปูนซีเมนต์เลย นอกจากเป็นตัวการที่ทำ ให้ปูนซีเมนต์เป็นสีเทาเท่านั้น ถ้าเรากำ จัดสารประกอบนี้ไปจะได้ปูนซีเมนต์สีขาวโดยไม่ทำ ให้ความแข็งแรงของปูนซีเมนต์ลดลงเลยในการผสมคอนกรีตเพื่อทำ กำ แพง พื้น ผนัง ถนน หรือ บาทวิถี โดยปกติจะผสมปูนซีเมนต์ กับวัสดุผสมก่อนแล้วจึงเติมนํ้าตามลงไป อัตราส่วนผสมที่ใช้ในการก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์ : ทราย : หิน) จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1 : 2 : 3 , 1 : 2 : 4 จนถึง 1 : 3 : 5 ในกรณีของมอร์ตาร์สำหรับก่ออิฐหรือคอนกรีตบล๊อคมักจะใช้ปูนซีเมนต์และทรายผสมกับไลม์ ปริมาณนํ้าที่ใช้ผสมนั้นมีความสำคัญมากต่อความแข็งแรงของคอนกรีตถ้าปริมาณนํ้ายิ่ง น้อยคอนกรีตก็จะยิ่งมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยปกติจะใช้นํ้า 1 – 1.5 เท่า ของปริมาตรคอนกรีต นอกจากนี้อาจมีการเติมสารผสมเพิ่มอื่นๆ ลงไปด้วย เช่น :
- สารกระจายกักฟองอากาศ ( air entraining chemical) เพื่อให้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้นและยังป้องกันอันตรายเนื่องจากการแข็งตัว
- ลาเทกซ์สำ หรับเพิ่มความแข็งแรง
- เส้นใยพลาสติกสำ หรับควบคุมการแตกเนื่องจากการหดตัว
- พลาสติกไซเซอร์ ทำ ให้คอนกรีตมีความต้องการนํ้าในการผสมน้อยลงและมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
- เหล็กเส้นเสริมแรงหรือตะแกรงเหล็ก ทำ ให้คอนกรีตมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
- ใยแก้ว(ชนิดทนด่าง) ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึง
- เม็ดสี สำ หรับทำ ให้คอนกรีตมีสีในขณะที่ปูนซีเมนต์ทำ ปฏิกิริยากับนํ้าแล้วแข็งตัว จะจับยึดวัสดุผสมและเหล็กเสริมแรงไว้ด้วยกัน
ควรรักษาคอนกรีตให้ชื้นอยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาหลายวันจนกระทั่งคอนกรีตแข็งตัวเต็มที่ คอนกรีตมีความสามารถในการรับแรงอัดได้สูงมากแต่รับแรงดึงได้น้อย ในขณะที่เหล็กมี ความสามารถในการรับแรงดึงได้สูง จึงได้มีการนำ เอาวัสดุทั้งสองชนิดมาใช้งานร่วมกันในการทำสะพาน อาคาร และโครงสร้างทางวิศวกรรมอื่นๆ แม้แต่ในงานศิลปก็มีการใช้ลวดเหล็กและตะแกรงเหล็กมาช่วยเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้าง โดยเฉพาะในส่วนที่ยื่นออกมาโดยไม่มีอะไร รองรับในส่วนของโครงสร้างที่บาง อาจมีการนำเอาใยแก้วชนิดทนด่างมาใช้แทนเหล็กเส้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึง การแตกร้าวของคอนกรีตจะเกิดมากที่สุดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหานี้ โดยการเติมเส้นใยโพลีโพรพิลีนลงไปในตอนผสมคอนกรีต นอกจากนี้ยังสามารถใช้ใยแก้วในการป้องกันการแตกร้าวได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นวัสดุที่แข็งแต่มีความสามารถในการรับแรงดึงตํ่า อาจจะทำ ให้คอนกรีตเปราะและแตกหักได้ง่าย ดังนั้นจึงได้มีการเติมลาเทกซ์ลงไปในนํ้าผสมคอนกรีตเพื่อทำ ให้คอนกรีตเหนียวขึ้นและในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันการซึมของนํ้าได้อีกด้วย

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
แหล่งรวบรวมคลังความรู้ในเรื่องต่างๆ